สำนักงานเศษขยะอวกาศขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) รายงานว่า ดาวเทียมสำรวจโลก ERS-2 จะตกลงสู่โลกในสัปดาห์นี้ โดยโครงสร้างส่วนใหญ่จะถูกเผาผลาญไปในชั้นบรรยากาศโลก
สำนักงานเศษขยะอวกาศพร้อมด้วยเครือข่ายเฝ้าระวังระหว่างประเทศ กำลังติดตามความเคลื่อนไหวของดาวเทียมดังกล่าว โดยเบื้องต้นคาดว่าจะกลับเข้ามายังโลกอีกครั้งในวันที่ 21 ก.พ. เวลา 6.14 น. ตามเวลาเขตเวลาตะวันออก (18.14 น. ตามเวลาประเทศไทย)
ครั้งแรก! ตรวจพบ “โมเลกุลน้ำ” บนพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อย
ญี่ปุ่นเตรียมส่ง “ดาวเทียมไม้” ดวงแรกของโลกขึ้นสู่อวกาศปีนี้!
“878 วัน” ชายผู้สร้างสถิติ ใช้เวลาอยู่ในอวกาศนานที่สุดในประวัติศาสตร์
อย่างไรก็ตาม ทีมงานประเมินกรอบเวลาคลาดเคลื่อนบวกลบไว้ถึง 15 ชั่วโมง
ที่เวลาการตกของดาวเทียม ERS-2 ยังไม่ชัดเจน เนื่องจากมีความไม่แน่นอนของพฤติกรรมดวงอาทิตย์ (Solar Activity) หรือปรากฏการณ์รุนแรงต่าง ๆ บนดวงอาทิตย์ เช่น การลุกจ้า (Flare), เปลวสุริยะ (Solar Flare), การพ่นมวลโคโรนา (CME) ฯลฯ
ซึ่งพฤติกรรมของดวงอิตย์เหล่านี้ สามารถเปลี่ยนความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศโลก และมีผลต่อการดึดดูดดาวเทียมได้ โดยขณะนี้ ดวงอาทิตย์กำลังใกล้ถึงจุดสูงสุดของการเกิดพฤติกรรมในรอบ 11 ปี หรือที่เรียกว่า “โซลาร์แม็กซิมัม” (Solar Maximum) อีกด้วย
พฤติกรรมของดวงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้นเคยมีผลกระทบต่อการกลับเข้ามาของดาวเทียมเอโอลัส (Aeolus) ของ ESA ในเดือน ก.ค. 2023 มาแล้ว โดยเร่งให้การตกเข้ามาเกิดเร็วขึ้น
ESA ระบุว่า “เนื่องจากการตกลงมาของดาวเทียมเป็นไปตามธรรมชาติ และไม่มีความเป็นไปได้ในการควบคุม จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะทราบได้อย่างแน่ชัดว่า ดาวเทียมจะกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศอีกครั้งเมื่อใดและจะเริ่มลุกไหม้เมื่อใด”
ดาวเทียม ERS-2 มีมวลประมาณ 2,294 กิโลกรัมหลังจากใช้เชื้อเพลิงหมด ทำให้มีขนาดใกล้เคียงกับเศษอวกาศอื่น ๆ ที่กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกในทุก ๆ สัปดาห์
ESA คาดว่าดาวเทียมจะแตกสลายและชิ้นส่วนส่วนใหญ่จะลุกไหม้ในชั้นบรรยากาศที่ระดับความสูงประมาณ 80 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวโลก โดยชิ้นส่วนบางส่วนอาจเหลือรอดจนตกลงมาถึงพื้นผิวโลกได้ แต่พวกมันจะไม่มีสารอันตรายใด ๆ และมีแนวโน้มว่าจะตกลงสู่มหาสมุทร
ดาวเทียมสำรวจโลก ERS-2 ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 1995 และเป็นดาวเทียมที่มีความซับซ้อนมากที่สุดในขณะนั้นที่ยุโรปสามารถพัฒนาขึ้นมาได้และปล่อยสู่อวกาศ
ดาวเทียมนี้รวบรวมข้อมูลอันมีค่าเกี่ยวกับแผ่นขั้วโลก มหาสมุทร และพื้นผิวโลก และสังเกตการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ เช่น น้ำท่วมและแผ่นดินไหวในพื้นที่ห่างไกล ข้อมูลที่รวบรวมโดย ERS-2 ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน
ในปี 2011 ESA ตัดสินใจยุติปฏิบัติการของดาวเทียม ERS-2 และตัดสินใจปล่อยให้มันตกกลับมายังโลก แทนที่จะเพิ่มขยะอวกาศในวงโคจรของโลก
หน่วยงานจึงได้บังคับดาวเทียมให้เคลื่อนที่เผาผลาญเชื้อเพลิงที่เหลือและลดระดับความสูงลง ส่งผลให้วงโคจรของ ERS-2 มีวิถีโคจรหมุนวนอย่างช้า ๆ ใกล้โลกและจะกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศภายใน 15 ปี
ESA เนน้นย้ำว่า ไม่ต้องกังวลถึงความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเศษขยะอวกาศ โดยโอกาสที่บุคคลจะได้รับบาดเจ็บจากเศษขยะอวกาศในแต่ละปีมีน้อยกว่า 1 ใน 1 แสนล้าน
เรียบเรียงจาก CNN
บ.ดอยแม่สลอง ออกประกาศหลัง "มอส ละครคุณธรรม" ถูกสืบนครบาลจับกุม
หลายฝ่ายจับพิรุธ หลังรัสเซียไม่คืนร่าง “นาวาลนี"
สามี รับสารภาพใช้หินทุบหัว “น้องนุ่น” นำศพไปทิ้งที่ปราจีนบุรี คำพูดจาก เว็บสล็อต มาแรงอันดับ 1